สินเชื่อคืออะไร ทำความรู้จักสินเชื่อประเภทต่าง ๆ กับ FINN

สินเชื่อ คืออะไร ? สินเชื่อมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ? การขอสินเชื่อหรือกู้เงินมีประโยชน์อย่างไร มีข้อเสียอย่างไรบ้าง ? และเอกสารที่ต้องเตรียม

สินเชื่อคืออะไร ทำความรู้จักสินเชื่อประเภทต่าง ๆ กับ FINN
ข้อควรรู้เกี่ยวกับสินเชื่อ สินเชื่อคืออะไร ทำไมต้องขอสินเชื่อ สินเชื่อ

สำหรับ First Jobber หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มก้าวเข้าสู่วงการการเงินอาจจะยังไม่แน่ใจในความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องของสินเชื่อของตัวเองเท่าไหร่นัก เพราะหากไม่ได้มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มาก่อน เรื่องของสินเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ ก็ดูเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องพยายามหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ วันนี้ FINN เลยเลือกหยิบยกประเด็นความรู้เกี่ยวกับสินเชื่อมาฝากไว้ ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

สินเชื่อ คืออะไร 

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าสินเชื่อ คืออะไร สินเชื่อนั้นเหมือนกับการกู้ยืมเงินที่เราคุ้นหูกันดีหรือไม่ คำตอบก็คือสินเชื่อกับการกู้ยืมเงินนั้นมีความหมายเหมือนกัน โดยการขอสินเชื่อก็คือการกู้ยืมเงินสดจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งผู้ขอก็สามารถนำเงินที่ได้ไปใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการ ภายใต้เงื่อนไขของสินเชื่อประเภทที่กู้ยืมมา โดยที่ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ปล่อยกู้เองก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยทุกงวดในระหว่างการผ่อนคืน หรือระหว่างที่เรากำลังพยายามหาวิธีปลดหนี้ที่ได้ทำการกู้ยืมมานั่นเอง

สินเชื่อประเภทต่าง ๆ 

ในส่วนของการแบ่งประเภทของสินเชื่อนั้นเราจะสามารถแบ่งประเภทออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 วิธี คือ แบ่งตามลักษณะของผู้ขอสินเชื่อ แบ่งตามระยะเวลา และแบ่งตามหลักประกัน โดยจะมีรายละเอียดและแบ่งประเภทแยกย่อยออกไปได้อีก ดังนี้

แบ่งตามลักษณะของผู้ขอ

สินเชื่อประเภทนี้จะทำการแบ่งตามลักษณะการใช้งานของผู้ขอ และโดยทั่วไปแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีก 3 รูปแบบ ดังนี้

  • สินเชื่อส่วนบุคคล : เป็นสินเชื่อที่ให้บุคคลนำเงินก้อนที่ได้รับไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภค อีกชื่อหนึ่งของสินเชื่อนี้คือ สินเชื่อเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด สถาบันการเงินและธนาคารต่าง ๆ มักมีสินเชื่อส่วนบุคคลให้บริการ
  • สินเชื่อประเภทนิติบุคคล : หรือที่รู้จักกันว่า สินเชื่อเพื่อการลงทุน เป็นสินเชื่อที่ใช้สำหรับการดำเนินธุรกิจ การลงทุน การผลิต หรือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการต่าง ๆ อาจมีขั้นตอนการพิจารณาและอนุมัติที่ซับซ้อนและใช้เวลานานกว่าสินเชื่อประเภทอื่น
  • สินเชื่อภาครัฐ : สินเชื่อภาครัฐ หรือ สินเชื่อสำหรับรัฐบาล เป็นสินเชื่อที่ภาครัฐหรือหน่วยงานต่าง ๆ ใช้เมื่อมีความจำเป็นต้องกู้เงิน อาจมาในรูปของพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ พันธบัตรออมทรัพย์ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบต่าง ๆ

แบ่งตามระยะเวลา

ในส่วนของสินเชื่อที่แบ่งตามระยะเวลา จะใช้ระยะเวลาในการกู้ยืมเป็นการจำแนกประเภทย่อย โดยจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • สินเชื่อระยะสั้น (Short-term Loans) : มีระยะเวลาในการกู้ยืมไม่เกิน 1 ปี เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต
  • ระยะกลาง (Medium-term Loans) : มีระยะเวลาในการกู้ยืมตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ปี เช่น สินเชื่อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
  • สินเชื่อระยะยาว (Long-term Loans) : มีระยะเวลาการกู้ยืมนานหลายปี ซึ่งใช้เวลาพิจารณานานกว่าสินเชื่อระยะสั้นและระยะกลาง นอกจากนี้ สินเชื่อประเภทนี้ยังมักเป็นการกู้เงินในวงเงินที่สูงกว่าปกติ

แบ่งตามหลักประกัน

สินเชื่อที่แบ่งตามหลักประกันหรือสินทรัพย์ค้ำประกัน คือ จะแบ่งประเภทตามลักษณะการค้ำประกันว่ามีการวางสินทรัพย์ในการค้ำประกันหรือไม่ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน : สินเชื่อประเภทนี้มีวงเงินจำกัดและใช้เวลาพิจารณาอนุมัติไม่นาน การอนุมัติขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อ
  • แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน : สำหรับสินเชื่อประเภทนี้นั้นผู้กู้ต้องมีหลักทรัพย์เพื่อใช้ค้ำประกันการกู้ยืม เช่น พันธบัตร เงินฝากในบัญชี โฉนดที่ดิน ทองคำ หรือทะเบียนรถ เพื่อชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดการผิดสัญญา

ประโยชน์ของสินเชื่อ

CIMB Thai ให้ข้อมูลประโยชน์ของสินเชื่อว่า สำหรับประโยชน์ของสินเชื่อนั้น จะมีประโยชน์ที่โดดเด่นข้อใหญ่ตามที่เราต่างก็รู้กัน คือ ทำให้เราสามารถมีเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้จ่ายตามความต้องการหรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของเราได้ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของเราได้ และมีเงินไว้ใช้จ่ายเมื่อมีเหตุฉุกเฉินที่ทำให้ต้องใช้เงินก้อน

ขอสินเชื่อ ระวังสินเชื่อ ข้อควรรู้เกี่ยวกับสินเชื่อ สินเชื่อคืออะไร

ข้อควรระวังในการขอสินเชื่อ

นอกจากจะมีข้อดีที่ทำให้เราสามารถใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่ตามความต้องการได้แล้ว การกู้เงินก็ยังมีสิ่งที่เรียกว่าเป็นข้อเสียหรือข้อควรระวังข้อใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เราต้องพึงระวังและตระหนักอยู่เสมอว่าการกู้เงินนั้น คือ การสร้างหนี้ และการสร้างหนี้ก้อนนี้ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่แฝงอยู่มากมาย เช่น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าดำเนินการต่าง ๆ ดังนั้นหากเราไม่ระวังให้ดีและทำการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายเกินตัวจนไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ตามนัดก็อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพราะฉะนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรกู้มาใช้พร่ำเพรื่อนั่นเอง

เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อต้องการกู้เงิน

สำหรับผู้ที่ต้องการกู้เงินแต่ไม่ทราบว่าจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง FINN ได้ลิสต์ตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นต้องใช้มาฝาก ดังนี้

เอกสารประจำตัว

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตร
  • สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)
  • กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

เอกสารเกี่ยวกับรายได้ 

  • ผู้มีรายได้ประจำ : ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
  •  ผู้มีอาชีพอิสระ : กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง
  • กรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วย
  • บัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
  • หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร
  • นิติบุคคล : สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี , สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี , สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน , แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ

เอกสารอื่น ๆ

  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
  • สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
  • สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม
  • ในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม
  • ในกรณีที่กู้เงินเพื่อธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นคือแผนธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจของ SMEs แผนโครงการที่ต้องการดำเนินการ

*ทั้งนี้เอกสารที่ต้องใช้อาจเปลี่ยนแปลงไปตามประเภทของสินเชื่อและข้อกำหนดของธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน

หากต้องการใช้บริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้ากับ FINN ต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

จะเห็นได้ว่าในการจะกู้เงินแต่ละครั้งนั้นมีเอกสารรวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ค่อนข้างมาก ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการใช้เงินก้อนไม่ใหญ่มาก อาจลองเลือกวิธีเบิกเงินเดือนของตัวเองล่วงหน้ากับ FINN มาใช่จ่าย เงื่อนไขสบาย ๆ ไม่ต้องใช้เอกสารมากมาย ตามลิสต์ด้านล่างนี้เลย

  • มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือของประเทศไทยเพื่อลงทะเบียนกับ FINN
  • เป็นพนักงานประจำที่ได้รับเงินเดือนทุกเดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 4 เดือน (ไม่กำหนดขั้นต่ำ)
  • ส่งเอกสารรายการเดินบัญชี และบัตรประชาชนเพื่อเป็นการยืนยันตัวตน
  • ไม่มีการเช็กเครดิตบูโร
  • ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่มีค่าธรรมเนียม (จะเป็นลักษณะการให้ทิปในการใช้บริการซึ่งสามารถให้เท่าไหร่ก็ได้ตามที่สะดวกใจ ไม่มีขั้นต่ำในการให้)

สำหรับใครที่สนใจ สามารถทักสอบถามรายละเอียดและขอคำแนะนำได้ https://go.finn-app.com/finnis0424 เรามีเจ้าหน้าที่สแตนบายด์คอยให้คำแนะนำ