พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร ปลอดภัยหรือไม่หากตัดสินใจลงทุน ?

พันธบัตรรัฐบาล คือ ? การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ปลอดภัยหรือไม่ ? สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท ลงทุนแบบไหนได้บ้าง ? ใครบ้างที่เหมาะกับการลงทุน ?

พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร ?
ลงทุนพันธบัตรรัฐบาล

พันธบัตรรัฐบาล อีกทางเลือกในการลงทุนสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่มีความรู้ด้านการลงทุนอย่างจำกัด หรือต้องการลงทุนในแบบที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้รับผลตอบแทนแน่นอน ไม่ต้องคอยจับตาดูตลอด มีความน่าเชื่อถือ และมีรัฐบาลรับรอง ใครยังไม่รู้จักว่าพันธบัตรรัฐบาลคืออะไร ลองมาทำความรู้จักกันได้ในบทความนี้เลย

พันธบัตรรัฐบาล คืออะไร ?

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าพันธบัตร คืออะไร พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีจุดประสงค์ในการระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาลหรือใช้ในการชำระหนี้สาธารณะ การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมีความเรียบง่ายกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ เนื่องจากผู้ที่ซื้อพันธบัตรจะกลายเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล ในขณะที่รัฐบาลมีหน้าที่ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามที่กำหนด โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3% ต่อปี

ลงทุนพันธบัตรรัฐบาล เสี่ยงไหม ?
ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลปลอดภัยไหม ?

ลงทุนพันธบัตรรัฐบาล ปลอดภัยไหม ?

ในส่วนของผู้ที่ต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และมีความกังวลใจว่าพันธบัรัฐบาลนั้นปลอดภัยหรือไม่ ความจริงแล้วการลงทุนในพันธบัตรนั้น ถือเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างมีความปลอดภัย ความเสี่ยงต่ำ มีผลตอบแทนที่จะได้รับอย่างชัดเจน เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการออกพันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง

ประเภทของพันธบัตรรัฐบาล

ธนาคารกรุงไทยให้ข้อมูลประเภทพันธบัตรรัฐบาลว่า พันธบัตรรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือพันธบัตรระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรระยะยาวที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยในประเทศไทยสามารถแบ่งพันธบัตรรัฐบาลออกได้เป็นประเภทย่อย ๆ  5 ประเภท ดังนี้

  • ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) ออกแบบมาเพื่อการบริหารเงินระยะสั้นของรัฐบาล ซึ่งเป็นพันธบัตรระยะสั้นที่มีอายุ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี การจ่ายผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังนี้จะมาในรูปแบบของส่วนลด กล่าวคือ ตั๋วจะถูกขายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าหน้าตั๋ว และเมื่อถึงวันครบกำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนเต็มมูลค่าหน้าตั๋ว ซึ่งส่วนต่างนี้คือผลตอบแทนของผู้ถือพันธบัตร
  • พันธบัตรรัฐบาลแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate Government Bond) ถูกออกแบบมาเพื่อระดมทุนในการพัฒนาประเทศ ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ หรือชดเชยการขาดดุลงบประมาณ พันธบัตรประเภทนี้มีอายุการถือครองตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และบางรายการอาจมีอายุถึง 50 ปี การจ่ายดอกเบี้ยจะเป็นอัตราคงที่ โดยจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง และคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน
  • พันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมของประชาชน ถือเป็นอีกวิธีการเก็บเงินที่น่าสนใจ โดยมักจะมีเงื่อนไขที่เอื้อต่อการลงทุน เช่น การห้ามซื้อขายพันธบัตรนี้นอกกลุ่มนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาภายในปีแรก หรือการจำกัดวงเงินการลงทุนไม่ให้สูงเกินไป
  • พันธบัตรรัฐบาลชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-linked Bond) เป็นตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ โดยจะจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน และเมื่อครบกำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืนพร้อมกับส่วนชดเชยเงินเฟ้อตามดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป (Headline inflation)
  • พันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate Bond) มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยคงที่ โดยออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล และมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
วิธีลงทุนพันธบัตรรัฐบาล
ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลได้อย่างไรบ้าง ?

ลงทุนพันธบัตรรัฐบาลได้อย่างไรบ้าง ?

หากต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล สามารถเลือกลงทุนได้โดยการซื้อผ่านตลาดพันธบัตรรัฐบาลซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักในการซื้อขาย คล้ายกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ตลาดแรก (Primary Market) และตลาดรอง (Secondary Market) โดยทั้งสองตลาดมีความแตกต่างกันดังนี้

1. ตลาดแรก (Primary Market) 

หมายถึง การซื้อขายพันธบัตรที่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งเป็นการซื้อขายระหว่างสถาบันที่ออกพันธบัตรกับนักลงทุน โดยราคาขายอาจเป็นราคาหน้าตั๋วหรือราคาที่ต่ำกว่า มีการจำหน่ายพันธบัตรให้กับนักลงทุน 2 ประเภทโดยใช้วิธีการตั้งราคาที่แตกต่างกัน คือ

  • นักลงทุนรายย่อย คือ การขายพันธบัตรให้กับบุคคลทั่วไป โดยราคาขายเริ่มต้นที่ 1,000 บาท พันธบัตรบางประเภทอาจจำกัดวงเงินในการลงทุน ในขณะที่บางประเภทไม่จำกัด ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันที่ออกพันธบัตร สามารถซื้อพันธบัตรผ่านธนาคารพาณิชย์ได้
  • นักลงทุนสถาบัน คือ การขายพันธบัตรให้กับสถาบันการลงทุน เช่น กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล การขายในกลุ่มนี้จะใช้วิธีการประมูลราคา แบ่งเป็นการประมูลแบบแข่งราคา ซึ่งผู้เสนอราคาประมูลต่ำสุดจะได้รับสิทธิ์ในการซื้อก่อน และการประมูลแบบไม่แข่งราคา ซึ่งจะขายในราคาถัวเฉลี่ยจากการประมูลรอบเดียวกัน

2. ตลาดรอง (Secondary Market)

หมายถึง การซื้อขายพันธบัตรระหว่างนักลงทุนที่ไม่ได้ซื้อพันธบัตรจากตลาดแรก หรือการขายพันธบัตรของนักลงทุนที่ซื้อจากตลาดแรกแต่ต้องการขายก่อนครบกำหนดสัญญา การซื้อขายในตลาดรองนี้สามารถทำได้ทั้งแบบตกลงกันเองระหว่างนักลงทุน หรือผ่านตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange, BEX) ซึ่งดำเนินการผ่านโบรกเกอร์

พันธบัตรรัฐบาล เหมาะกับใคร ?
ใครบ้างที่เหมาะกับการลงทุนพันธบัตรรัฐบาล

การลงทุนพันธบัตรรัฐบาล เหมาะกับใคร ?

  • ผู้ที่ต้องการความมั่นคงในผลตอบแทน และไม่ชอบความเสี่ยง (สูง) เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถรับความเสียหายจากการลงทุนได้น้อย และต้องการความมั่นใจในผลตอบแทนที่แน่นอน นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีเงินก้อนเพื่อการลงทุน และระยะเวลาการลงทุนของเงินก้อนนั้นควรสอดคล้องกับระยะเวลาของพันธบัตรรัฐบาล
  • ผู้ที่ต้องการใช้ตราสารหนี้เพื่อการบริหารพอร์ตการลงทุน (Portfolio Management) ให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เหมาะ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงนอกเหนือจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น ควรพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้บางส่วน เพื่อสร้างกระแสเงินรับที่สม่ำเสมอสำหรับค่าใช้จ่ายประจำต่างๆ และได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด การลงทุนในตราสารหนี้จึงช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุน อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ควรพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น อายุของผู้ลงทุน รายได้ประจำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย และระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ หากผู้ลงทุนอายุยังน้อย มีรายได้ประจำเพียงพอ และยอมรับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนในตราสารหนี้ในสัดส่วนที่ไม่สูงนัก

สำหรับใครที่ต้องการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงิน หรืออยากทราบวิธีบริหารจัดการเงินเพื่อสุขภาพทางการเงินที่ดีสามารถติดต่อ FINN ได้ เพราะนอกจากเราจะมีบริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้าให้ใช้ ยังมีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเงินด้วยนั่นเอง

https://go.finn-app.com/finnis0424 สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้เลย