ทำความรู้จัก 'หุ้นกู้' และสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มลงทุน

หุ้นกู้ (Corporate Bond) คืออะไร มีกี่ประเภท และมีความแตกต่างกันอย่างไร ลงทุนในหุ้นกู้ดีไหม อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ (Credit Rating) คืออะไร ข้อดี-ข้อเสียของหุ้นกู้

รู้จักหุ้นกู้
หุ้นกู้

ในโลกของการลงทุนนั้นมีหุ้นให้เลือกลงทุนอยู่หลายประเภทด้วยกัน หุ้นกู้ ก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น มาทำความรู้จักหุ้นกู้ และสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มลงทุนไปพร้อมกัน เพื่อให้สามารถเลือกลงทุนได้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

หุ้นกู้ คืออะไร ?

Finnomina. ให้ข้อมูลหุ้นกู้ว่า หุ้นกู้ (Corporate Bond) คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนเพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การขยายกิจการ การซื้ออุปกรณ์ หรือการก่อสร้างโรงงาน โดยผู้ที่ลงทุนในหุ้นจะมีสถานะเป็น "เจ้าหนี้" ของบริษัทผู้ออกหุ้น ซึ่งมีหน้าที่จ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นตามอัตราที่กำหนด และต้องชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุของหุ้น

หุ้นกู้ในประเทศไทยมักมีมูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท และให้อัตราผลตอบแทนในรูปแบบของ "ดอกเบี้ย" ซึ่งโดยทั่วไปจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง (ทุก ๆ 6 เดือน) หรือในบางกรณีอาจจ่ายปีละ 4 ครั้ง (ทุก ๆ 3 เดือน) ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากหุ้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% เช่นเดียวกับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ

หุ้นกู้ ดีไหม ?
ลงทุนในหุ้นกู้ ดีไหม ?

ลงทุนในหุ้นกู้ ดีไหม ?

การลงทุนใน หุ้นกู้ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ และมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในหุ้นสามัญ เพราะหุ้นชนิดนี้เป็นตราสารหนี้ที่บริษัทเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจออกให้แก่นักลงทุนเพื่อระดมทุน โดยผู้ออกหุ้นกู้มีภาระผูกพันในการจ่ายดอกเบี้ยเป็นระยะ และคืนเงินต้นตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้มีความแน่นอนของผลตอบแทน เนื่องจากนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นสามัญ เนื่องจากในกรณีที่บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน ผู้ถือหุ้นจะได้รับชำระหนี้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ อย่างไรก็ตามการลงทุนในหุ้นกู้ก็ยังมีความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกหุ้น (Default Risk) หรือความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่อาจเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อมูลค่าของหุ้นในตลาดรอง

ดังนั้นก่อนลงทุนในหุ้นกู้ นักลงทุนควรพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นผ่านการจัดอันดับเครดิต ศึกษาเงื่อนไขของหุ้น และวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สามารถเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของตนเอง

ประเภทของหุ้นกู้

ประเภทของหุ้นกู้ สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

1. แบ่งตามหลักประกัน

  • หุ้นไม่มีหลักประกัน (Unsecured Bond) : หุ้นประเภทนี้ไม่มีทรัพย์สินค้ำประกัน ความน่าเชื่อถือของหุ้นขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้
  • หุ้นมีหลักประกัน (Secured Bond) : หุ้นที่มีทรัพย์สินของผู้ออกหุ้นเป็นหลักประกัน หากผู้ออกหุ้นไม่สามารถชำระหนี้ได้ นักลงทุนมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อชดเชยเงินลงทุน

2. แบ่งตามสิทธิในการได้รับชำระหนี้

  • หุ้นสามัญ (Senior Bond) : หุ้นที่มีลำดับสิทธิสูงกว่าหุ้นกู้ประเภทอื่น ๆ หากบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน ผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะได้รับชำระหนี้ก่อน
  • หุ้นด้อยสิทธิ (Subordinated Bond) : หุ้นที่มีลำดับสิทธิในการชำระหนี้ต่ำกว่าหุ้นกู้สามัญ ผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะได้รับเงินคืนหลังจากผู้ถือหุ้นกู้สามัญในกรณีที่บริษัทล้มละลาย
หุ้นกู้ ประเภท
ประเภทของหุ้นกู้

3. แบ่งตามลักษณะของอัตราดอกเบี้ย

  • หุ้นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate Bond) : หุ้นที่มีอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดแน่นอนตลอดอายุของหุ้นกู้ ทำให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์ผลตอบแทนได้ชัดเจน
  • หุ้นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Bond) : หุ้นที่มีอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงตามตัวชี้วัดทางการเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ หรืออัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน

4. แบ่งตามเงื่อนไขพิเศษของหุ้นกู้

  • หุ้นแปลงสภาพ (Convertible Bond) : หุ้นที่ให้สิทธิผู้ถือหุ้นกู้สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • หุ้นที่มีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด (Callable Bond) : หุ้นที่ให้สิทธิผู้ออกหุ้นสามารถไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนดอายุของหุ้น
  • หุ้นที่ผู้ลงทุนสามารถไถ่ถอนก่อนกำหนด (Puttable Bond) : หุ้นที่ให้สิทธิผู้ถือหุ้นสามารถไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนดได้ตามเงื่อนไขที่ระบุ

หุ้นกู้แต่ละประเภทมีระดับความเสี่ยง และผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักลงทุนควรศึกษาคุณสมบัติของหุ้นแต่ละประเภทให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงิน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้นั่นเอง

อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ (Credit Rating) คืออะไร ?

อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ (Credit Rating) คือ การประเมินความสามารถของผู้ออกหุ้นในการชำระหนี้ตามข้อกำหนดของตราสารหนี้ โดยการจัดอันดับนี้ดำเนินการโดยสถาบันจัดอันดับเครดิต เช่น Fitch Ratings, Moody’s, Standard & Poor’s (S&P) หรือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating) ในประเทศไทย อันดับความน่าเชื่อถือเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงของหุ้นได้อย่างเป็นระบบ โดยทั่วไปหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตสูง (เช่น AAA, AA, A) บ่งชี้ถึงความมั่นคงทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นที่ดี ในขณะที่หุ้นที่มีอันดับเครดิตต่ำ (เช่น BB, B หรืออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าลงไป) จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการผิดนัดชำระหนี้

หุ้นกู้ ข้อดี
ข้อดีของหุ้นกู้

ข้อดีของการลงทุนในหุ้นกู้

  • ผลตอบแทนสม่ำเสมอ : นักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ช่วยให้คาดการณ์รายได้ได้ง่าย
  • ความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นสามัญ : หุ้นกู้มีลำดับสิทธิในการได้รับชำระหนี้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ หากบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน
  • เหมาะสำหรับการกระจายความเสี่ยง : สามารถใช้หุ้นชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความผันผวน
  • มีหลากหลายประเภทให้เลือก : นักลงทุนสามารถเลือกหุ้นที่มีระดับความเสี่ยง และผลตอบแทนที่เหมาะสมกับตนเอง
  • มีตลาดรองสำหรับการซื้อขาย : หุ้นกู้สามารถซื้อขายในตลาดรอง ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการลงทุน

ข้อเสียของการลงทุนในหุ้นกู้

  • มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk) : หากผู้ออกหุ้นมีปัญหาทางการเงิน อาจไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย หรือคืนเงินต้นได้
  • มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) : หุ้นกู้บางประเภทอาจไม่มีสภาพคล่องสูง ทำให้การซื้อขายในตลาดรองเป็นไปได้ยาก
  • มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) : เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น มูลค่าของหุ้นในตลาดรองอาจลดลง
  • มีผลตอบแทนจำกัด : แม้ว่าหุ้นกู้จะให้ผลตอบแทนที่แน่นอน แต่ไม่สามารถสร้างผลกำไรสูงเหมือนการลงทุนในหุ้นสามัญที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว
  • ไม่มีสิทธิออกเสียงในบริษัท : ผู้ถือหุ้นชนิดนี้ไม่มีสิทธิในการบริหาร หรือตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายของบริษัท แตกต่างจากผู้ถือหุ้นสามัญ

สำหรับใครที่ตัดสินใจลงทุนในหุ้นกู้ไปแล้วแต่ยังไม่ถึงรอบจ่ายดอกเบี้ย ทำให้เงินขาดมือไม่พอใช้ มีบิลฉุกเฉินต้องจ่าย สามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าของตัวเองมาใช้ก่อนได้ https://go.finn-app.com/finnis0424 ดำเนินการสะดวกสบาย รวดเร็วทุกขั้นตอน