เป็นหนี้กยศ. ต้องรู้ไว้ ทำอย่างไรให้หมดไว เสียดอกไม่แพง
หนี้กยศ. คืออะไร หนี้ กยศ.มีระบบการคิดดอกเบี้ยอย่างไร อยากให้หนี้ กยศ.ให้หมดไวต้องทำอย่างไร ไม่ทำการจ่ายหนี้จากการกู้เงินกยศ.ได้หรือไม่ จะโดนฟ้องไหม
โอกาสให้แก่เด็กไทยมากมายหลายคนได้เรียนต่อตามที่ใจหวังนั้นได้กลายเป็นหนี้สินที่ติดตัวเด็กไทยจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนตามจำนวนโอกาสที่ได้รับ
แต่แน่นอนว่าคงไม่มีใครที่อยากมีหนี้สินติดตัวไปนาน ๆ ทว่าการปลดเปลื้องหนี้ที่ติดตัวมาตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มทำงาน หรือการแก้หนี้กยศ.นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ทันทีเมื่อเรียนจบ ดังนั้น FINN จึงได้เลือกนำขั้นตอนที่ควรทำหากต้องการจะใช้หนี้ กยศ.มาฝากให้ เพื่อที่จะได้นำไปวางแผน และปรับใช้ ปลดหนี้กยศ.ที่มีอยู่ได้ แถมไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพง ๆ
หนี้กยศ. คืออะไร ?
Set ให้ข้อมูลหนี้กยศ. ว่า หนี้กยศ. หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา คือการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับเด็ก ๆ ในวัยศึกษาเล่าเรียนที่ต้องการทุนการศึกษา โดยที่มีข้อกำหนดในการกู้ยืมว่า เมื่อเด็ก ๆ ได้มีการสำเร็จการศึกษา (เรียนจบ) และทำงานมีรายได้เป็นของตัวเองแล้ว จะต้องทำการทยอยผ่อนชำระหนี้คืนให้กับทาง กยศ. เพื่อที่ทางโครงการจะได้นำเงินที่ได้รับคืนมาส่วนนั้น ไปทำการสานต่อความฝันให้กับเด็กรุ่นหลัง ๆ ซึ่งอยากเรียนแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ต่อไปนั่นเอง
หนี้กยศ.มีระบบการคิดดอกเบี้ยอย่างไร ?
แน่นอนว่าเมื่อหนี้กยศ.นั้นเกิดขึ้นมาจากการกู้ยืมเงิน ก็จะต้องมีการคิดดอกเบี้ย ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นหนี้กยศ. จะมีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ 1% ต่อปี แต่หากในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้จะมีการคิดเบี้ยปรับเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ดังนี้
- ในกรณีไม่เกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 12% ของเงินต้นที่ค้างชำระ
- ในกรณีเกิน 1 ปี คิดเบี้ยปรับ 18% ของเงินต้นที่ค้างชำระ
จะเห็นได้ว่าเบี้ยปรับที่เพิ่มขึ้นมาจากการผิดนัดชำระนั้นค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว ดังนั้นสำหรับใครที่ไม่ต้องการจ่ายเบี้ยปรับจำนวนมาก จะต้องไม่ผิดนัดชำระเป็นอันขาด ไม่อย่างนั้นการใช้หนี้กยศ.ก็จะยิ่งเพิ่มความยาก และปลดหนี้ได้ไม่หมดสักที
วิธีการคิดดอกเบี้ยหนี้กยศ.
- กรณีชำระหนี้ตามเวลา ร้อยละ 1 ต่อปี : ดอกเบี้ย = เงินต้นทั้งหมด x อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 x จำนวนวัน และหารด้วย 365 วัน
- กรณีผิดนัดชำระไม่เกิน 1 ปี : เบี้ยปรับ = เงินต้นที่ค้างชำระ x เบี้ยปรับร้อยละ 12 x จำนวนวันที่ค้างชำระ และหารด้วย 365 วัน
- กรณี ผิดนัดชำระหนี้ เกิน 1 ปี : เบี้ยปรับ = เงินต้นค้างชำระ x ร้อยละ 18 x จำนวนวันที่ค้างชำระ และหารด้วย 365 วัน
อยากให้หนี้กยศ.ให้หมดไวต้องทำอย่างไร ?
สำหรับผู้ที่กำลังเป็นนหนี้กยศ. หรือนักศึกษาที่กำลังกู้เงินกยศ.เพื่อการศึกษาแต่อยากวางแผนการใช้หนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ กันไว้ สามารถทำตามขั้นตอนที่ FINN ได้ทำการรวบรวมมาให้ ช่วยให้สามารถใช้หนี้ได้ไว และไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพง โดยจะมีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้
ตรวจสอบยอดหนี้กยศ. เพื่อวางแผนการชำระเงิน
การเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับการใช้หนี้กยศ. คือการตรวจสอบยอดหนี้ เพื่อวางแผนการชำระเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้จากช่องทางต่าง ๆ คือ
- เว็บไซต์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
- แอพพลิเคชั่น กยศ. Connect
รีบเก็บเงินก้อนในช่วงปลอดหนี้ 2 ปีหลังเรียนจบ
การรีบเก็บเงินก้อนในช่วงปลอดหนี้ 2 ปีหลังเรียนจบจะช่วยให้สามารถชำระหนี้กยศ.ได้รวดเร็วขึ้น โดยอาจเริ่มหารายได้เพิ่มเติมนอกจากงานประจำด้วยการสร้าง Passive Income ซึ่งหากเราสามารถชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดในงวดแรก เงินที่ชำระจะถูกหักจากเงินต้นโดยไม่มีดอกเบี้ย ช่วยลดหนี้คงเหลือและประหยัดดอกเบี้ยได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ทำการเลือกวิธีชำระหนี้กยศ. ที่เหมาะสมกับตนเอง
หลังจากช่วงปลอดหนี้ จะสามารถทำการเลือกวิธีชำระหนี้ที่เหมาะสมกับตนเองได้ โดยจะมีตัวเลือกวิธีในการชำระหนี้กยศ. ดังนี้
- การชำระหนี้กยศ.แบบรายเดือน : วิธีนี้ถือเป็นวิธีการที่สะดวก และสามารถหักจากเงินเดือนได้ในทุกเดือน แต่จะมีข้อเสียคือจะต้องทำการจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน
- การชำระหนี้กยศ.แบบรายปี : เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบชำระหนี้บ่อย ๆ แต่ต้องวางแผนการเงินให้ดีเพราะเป็นการชำระเงินก้อนใหญ่ในครั้งเดียวนั่นเอง
ทำการปิดบัญชีหนี้กยศ.เพื่อรับส่วนลด 3%
รู้หรือไม่ว่าการนำเงินก้อนไปปิดบัญชีหนี้ กยศ. จะช่วยลดเงินต้นทันที 3% (ไม่รวมดอกเบี้ย) ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับผู้ที่สามารถเก็บเงินก้อนได้ในช่วงปลอดหนี้ 2 ปีแรกนั่นเอง
กยศ
หากเรายังมีภาระที่ยังต้องชำระหนี้กยศ. การหักห้ามใจไม่ซื้อของฟุ่มเฟือยถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้ตนเองมีเงินเก็บเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ ต้องพึงระลึกเสมอว่าการชำระหนี้ กยศ. ให้หมดเร็วจะช่วยให้มีอิสระทางการเงินในอนาคต ซึ่งควรตั้งเป้าหมายให้แน่ชัด และมุ่งมั่นเพราะจะทำให้สามารถหักห้ามใจตนเอง รวมถึงมีวินัยในการใช้เงินมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนเหล่านี้ ถือเป็นวิธีการที่ดีมากในการชำระหนี้กยศ.ให้หมดไว และไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากเพิ่มเติมไปกับการจ่ายดอกเบี้ย หรือเบี้ยปรับหากผิดนัดชำระ ดังนั้นสำหรับใครที่เป็นหนี้กยศ. ก็ลองนำไปปรับใช้กันดูได้ ยิ่งชำระหมดไว ก็ยิ่งก้าวเข้าใกล้ความเป็นอิสระทางการเงินในอนาคตนั่นเอง
ไม่ใช้หนี้กยศ. ได้หรือไม่ ?
บางคนอาจมีสงสัยว่าหากไม่ยอมจ่ายหนี้กยศ.จะได้ไหม จะมีความผิดใด ๆ หรือไม่ ? คำตอบก็คือในกรณีที่มีการผิดนัดชำระ และค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป) หรือ มีหนี้ค้างชำระ แต่หมดระยะเวลาที่กำหนดแแล้ว จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ดังนั้นจึงไม่ควรคิดที่จะหนีหนี้กยศ.โดยเด็ดขาด
สำหรับใครที่อยู่ในช่วงเก็บเงินชำระหนี้กยศ.แล้วหมุนเงินไม่ทันเพราะมีรายจ่ายฉุกเฉิน แต่ไม่อยากยืมใคร ไม่อยากกู้ยืมที่ไหนเพราะกังวลเรื่องดอกเบี้ย ก็สามารถเบิกเงินเดินตัวเองล่วงหน้ากับ FINN ได้ที่ https://go.finn-app.com/finnis0424 ไม่มีมีค่าดอกเบี้ยแต่อย่างใด ยืมได้แบบสบาย ๆ เพราะเป็นเงินเดือนตัวเอง