คลอดลูกโรงพยาบาลเอกชน ดีกว่าโรงพยาบาลรัฐฯ จริงหรือไม่ ต้องมีงบประมาณเท่าไหร่ ?

คลอดลูกโรงพยาบาลเอกชน หรือโรงพยาบาลดีกว่ากัน คลอดที่ไหนต้องมีงบประมาณเท่าไหร่ การคลอดลูกมีกี่ประเภท ต่างกันอย่างไร มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ?

คลอดลูก ที่ไหนดี ?
คลอดลูกโรงพยาบาลเอกชน vs รัฐบาล

ข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรเลือกคลอดลูกที่ไหน ควรคลอดลูกที่โรงพยาบาลเอกชน หรือโรงพยาบาลรัฐบาล ลองพิจารณาจากราคา รวมถึงข้อดี-ข้อเสียต่าง ๆ ที่ FINN ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ได้เลย

การคลอดลูกมีกี่ประเภท ?

สำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการทราบว่าการคลอดบุตรนั้นสามารถทำแบบไหนได้บ้าง โรงพยาบาลกระบี่นครินทร์ อินเตอร์เนชันแนลให้ข้อมูลประเภทการคลอดลูกว่า มีการทำคลอด 3 ประเภทด้วยกัน คือ

การคลอดธรรมชาติ

การคลอดลูกธรรมชาติ คือ การคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอดโดยไม่ใช้การผ่าตัด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายของคุณแม่ทำงานร่วมกับธรรมชาติเพื่อให้ทารกคลอดออกมา วิธีการนี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีครรภ์ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และทารกอยู่ในท่าที่เหมาะสม เช่น ท่าศีรษะลงสู่เชิงกราน

  • ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ : การคลอดธรรมชาติมีข้อดีหลายประการ เช่น คุณแม่สามารถควบคุมการคลอดได้ด้วยตนเอง กระบวนการฟื้นตัวหลังคลอดจะรวดเร็วกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าคลอด แผลที่เกิดจากการคลอดธรรมชาติจะมีขนาดเล็กมาก หรืออาจไม่มีแผลเลย ค่าใช้จ่ายในการคลอดธรรมชาติต่ำกว่าการผ่าคลอด และการคลอดธรรมชาติช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการให้นมลูก
  • ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ : หากคุณแม่ไม่ได้ใช้ยาแก้ปวด หรือการบล็อกหลัง จะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดที่มาก โดยเฉพาะในกรณีที่ทารกมีขนาดตัวใหญ่ หรือคุณแม่มีขนาดตัวเล็ก ซึ่งอาจทำให้การคลอดเป็นไปอย่างยากลำบาก และเพิ่มความเจ็บปวดอย่างมาก

กล่าวคือการคลอดลูกธรรมชาติเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพของทั้งคุณแม่ และทารก แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมและความปลอดภัยรายบุคคล

คลอดลูก ผ่าคลอด
คลอดลูก ด้วยการผ่าคลอด

การผ่าคลอด

การผ่าคลอด (Cesarean Section) คือ การคลอดลูกโดยการผ่าตัดหน้าท้อง และมดลูกเพื่อช่วยนำทารกออกมา แพทย์จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่การคลอดลูกธรรมชาติอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่ หรือทารก หรือในกรณีที่คุณแม่เลือกวิธีนี้เพื่อกำหนดวัน และเวลาคลอดตามฤกษ์งามยามดี คุณแม่สามารถเลือกวิธีการดมยาสลบ หรือการบล็อกหลัง ซึ่งการบล็อกหลังจะช่วยให้คุณแม่มีสติรับรู้ในทุกขั้นตอนโดยไม่รู้สึกเจ็บ

  • ข้อดีของการผ่าคลอด : การผ่าคลอดช่วยให้คุณแม่สามารถกำหนดวัน และเวลาคลอดได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่การคลอดลูกธรรมชาติอาจไม่ปลอดภัย คุณแม่ที่เลือกการบล็อกหลังสามารถได้ยินเสียงแรกเกิดของลูก และสัมผัสตัวลูกได้ทันทีหลังคลอด กระบวนการผ่าคลอดได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ ทำให้มั่นใจในความปลอดภัย
  • ข้อเสียของการผ่าคลอด : การผ่าคลอดมีข้อเสียที่ต้องพิจารณา เช่น อาการเจ็บแผลบริเวณที่ผ่าตัดซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหายสนิท การเสียเลือดมาก มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าการคลอดลูกธรรมชาติ และจำเป็นต้องเย็บแผล และตัดไหมหลังคลอด ค่าใช้จ่ายในการผ่าคลอดยังสูงกว่าการคลอดลูกธรรมชาติ ทำให้เป็นทางเลือกที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

กล่าวคือการผ่าคลอดเหมาะสำหรับบางกรณีที่การคลอดธรรมชาติอาจเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่ และทารก คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุดนั่นเอง

คลอดลูกเอกชน ข้อดี
คลอดลูกในน้ำ

การคลอดในน้ำ

การคลอดลูกในน้ำ (Water Birth) คือ การคลอดลูกโดยที่คุณแม่แช่อยู่ในน้ำอุ่น ซึ่งช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย และลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอด วิธีการนี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องการคลอดธรรมชาติ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน และทารกอยู่ในท่าศีรษะลง น้ำอุ่นในระหว่างการคลอดจะช่วยให้กล้ามเนื้อในร่างกายของคุณแม่ผ่อนคลาย และส่งเสริมให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่น

  • ข้อดีของการคลอดลูกในน้ำ : การคลอดลูกในน้ำช่วยลดความตึงเครียด และความเจ็บปวดของคุณแม่ เพราะน้ำอุ่นมีคุณสมบัติช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และลดแรงเสียดทานในระหว่างการคลอด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสงบให้กับคุณแม่ และทารก ทารกที่คลอดในน้ำจะเปลี่ยนจากสภาพแวดล้อมในน้ำคร่ำไปสู่น้ำในอ่าง ทำให้การเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นอย่างนุ่มนวล
  • ข้อเสียของการคลอดลูกในน้ำ : การคลอดลูกในน้ำยังมีข้อจำกัด เช่น ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหากน้ำในอ่างไม่ได้รับการควบคุมความสะอาดอย่างเหมาะสม หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ภาวะตกเลือด หรือสายสะดือพันคอทารก อาจทำให้การช่วยเหลือเป็นไปได้ยากกว่าวิธีการคลอดแบบทั่วไป การคลอดในน้ำจึงต้องอาศัยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และสถานที่ที่มีอุปกรณ์ครบครัน

ทั้งนี้การคลอดลูกในน้ำเป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย และลดความเจ็บปวด แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสม และความปลอดภัยในแต่ละกรณี

คลอดลูกโรงพยาบาลเอกชน ดีกว่ารัฐฯ จริงไหม ?

การเลือกคลอดลูกที่โรงพยาบาลเอกชน หรือโรงพยาบาลรัฐขึ้นอยู่กับความต้องการ และปัจจัยของคุณแม่แต่ละคน โดยโรงพยาบาลเอกชนมีข้อได้เปรียบในเรื่องของความสะดวกสบาย และบริการที่เป็นส่วนตัวมากกว่า เช่น ห้องพักที่สะดวกสบาย อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย และการดูแลที่เอาใจใส่จากทีมแพทย์ พยาบาลที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังสามารถเลือกแพทย์ และกำหนดวันเวลาคลอดลูกได้ตามความต้องการ อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลเอกชนมักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐฯ ในขณะที่โรงพยาบาลรัฐมีข้อดีในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมมากกว่า แต่ก็อาจมีข้อจำกัดในเรื่องความแออัดของผู้ป่วย และความสะดวกสบายที่น้อยกว่าโรงพยาบาลเอกชน

ดังนั้นการเลือกสถานที่คลอดลูกขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น งบประมาณ ความต้องการด้านบริการ และความมั่นใจในคุณภาพของโรงพยาบาล คุณแม่จึงควรพิจารณาข้อมูลเหล่านี้อย่างรอบคอบเพื่อเลือกสถานที่คลอดลูกที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และครอบครัวที่สุดนั่นเอง

คลอดลูก ราคา
ราคาคลอดลูกโรงพยาบาลเอกชน vs รัฐบาล

คลอดลูกโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐ ราคา

ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูกที่โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยโรงพยาบาลเอกชนมักมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 50,000-150,000 บาท หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับแพ็คเกจที่เลือก เช่น การคลอดธรรมชาติ หรือการผ่าคลอด รวมถึงระดับความสะดวกสบายของห้องพัก และบริการเพิ่มเติมที่เลือก 

ในทางกลับกันการคลอดลูกที่โรงพยาบาลรัฐมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000-10,000 บาท หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยส่วนหนึ่งอาจได้รับการสนับสนุนจากสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) หรือประกันสังคม

อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจแตกต่างไปตามสถานที่ ภูมิภาค และสิทธิ์ที่คุณแม่มี คุณแม่จึงควรสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลที่สนใจ เพื่อเตรียมตัววางแผนค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม

ทราบกันดีอยู่แล้วว่านอกจากค่าใช้จ่ายในการคลอดลูกแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝากครรภ์ ซึ่งการฝากครรภ์ ราคาก็จะแตกต่างกันไป รวมถึงค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นหากเดือนไหนรู้สึกว่าหมุนเงินไม่ทันจ่าย ก็สามารถเบิกเงินเดือนล่วงหน้าของตัวเอง กับ FINN มาใช้ก่อนได้ https://go.finn-app.com/finnis0424 ดูแลค่าใช้จ่ายได้สบาย ไม่ต้องไปยืมใครให้ลำบากใจด้วยนั่นเอง