ลูกหนี้ต้องรู้! กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้มีอะไรบ้าง ?
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ การทวงหนี้แบบไหนสามารถทำได้แบบไม่ผิดกฎหมาย ห้ามทำการทวงหนี้แบบไหน หากโดนทวงหนี้แบบผิดกฎหมายต้องร้องเรียนที่ไหน?
เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ ถือเป็นสิ่งที่ลูกหนี้ทุกคนควรทราบ เพื่อป้องกันตนเองจากสถานการณ์ลำบาก และถูกเอารัดเอาเปรียบเนื่องจากไม่ทราบว่าตนเองนั้นได้รับการคุ้มครองจากรัฐฯในฐานะลูกหนี้อย่างไรบ้าง ดังนั้น FINN จึงได้รวบรวมเรื่องราวพื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ที่ควรรู้ไว้มาฝาก เพื่อที่ทุกคนจะได้ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ส่วนตัวของตนเองได้นั่นเอง
กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ คืออะไร ?
กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ คือ กฎหมายซึ่งเป็นตัวกำหนดให้ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ต้องรับผิดชอบในการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้อย่างเป็นธรรม และต้องมีการช่วยเหลือผู้เป็นหนี้อย่างต่อเนื่องตลอดวงจรหนี้ นอกจากนี้ กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ยังระบุแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เมื่อเริ่มมีปัญหา เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้เป็นหนี้ และยังคงมีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีวิต กล่าวคือกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ก็เปรียบเสมือนตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ รวมถึงคุ้มครองผู้เป็นหนี้ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นธรรมที่อาจเกิดขึ้นได้
ลักษณะการทวงหนี้ที่ไม่ผิดกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้
ทราบกันไปแล้วว่ากฎหมายคุ้มครองลูกหนี้นั้นมีไว้สำหรับช่วยในการคุ้มครองและปกป้องสิทธิ์ของตัวผู้ที่เป็นหนี้ ดังนั้นเรามาดูกันว่าลักษณะการทวงหนี้แบบไหนที่ไม่ผิดกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ โดยการทวงหนี้ที่ไม่ผิดกฎหมายจะมีลักษณะดังนี้
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าต้องทวงหนี้อย่างสุภาพ ให้เกียรติผู้เป็นหนี้ ไม่ทำให้เสื่อมเสียหรืออับอาย เพื่อปกป้องสิทธิของผู้เป็นหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าสามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นกรณี "เพื่อนทวงเพื่อน" สามารถทวงได้เกินวันละ 1 ครั้ง โดยการทวงหนี้จะนับจากที่ผู้เป็นหนี้รับทราบการทวงหนี้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการโทร การส่งหนังสือทวงหนี้ หรือการส่งข้อความอื่น ๆ แต่การทักทายกันตามปกติจะไม่นับเป็นการทวงหนี้
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าสามารถติดต่อทวงหนี้โดยบุคคล โทรศัพท์ ส่งหนังสือทวงหนี้ หรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8:00 น.- 20:00 น. และวันหยุดราชการเวลา 08:00 น.- 18:00 น.
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าต้องระบุสถานที่สำหรับการทวงหนี้ หากผู้ป็นหนี้เป็นไม่ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับที่อยู่ ภูมิลำเนา หรือสถานที่ทำงาน หรือตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด
ทวงหนี้แบบไหน ผิดกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้
นอกจากจะทราบกันไปแล้วว่าการทวงหนี้แบบไหนที่ไม่ผิดกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องทราบถึงลักษณะการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายเช่นกัน โดยลักษณะการทวงหนี้ที่ห้ามทำก็คือ
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าห้ามเจ้าหนี้ติดต่อหรือแสดงตัวในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่สามารถติดต่อกับลูกหนี้ได้
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าห้ามเปิดเผยความเป็นหนี้ของผู้เป็นหนี้แก่ผู้อื่นตามกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้หรือ พ.ร.บ. ทวงหนี้ ยกเว้นคนในครอบครัวของผู้เป็นหนี้ เช่น สามี ภรรยา หรือบุตร และในกรณีที่ผู้อื่นสอบถามถึงสาเหตุการติดต่อ
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าห้ามทวงหนี้จากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้เป็นหนี้ ยกเว้นในกรณีที่ผู้เป็นหนี้ได้ระบุบุคคลนั้นอย่างชัดเจน
- กฎหมายคุ้มครองลูกหนี้กำหนดว่าห้ามข่มขู่หรือใช้ความรุนแรงที่ทำให้ผู้เป็นหนี้เกิดความเสียหายทั้งทางร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ซึ่งถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ทวงหนี้ พ.ศ. 2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
- ห้ามใช้วิธีการทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสมตามที่คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประกาศหรือตาม พ.ร.บ. ทวงหนี้ที่กำหนดไว้
- ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นผู้เป็นหนี้หรือบุคคลอื่น
- ห้ามใช้ข้อความ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจที่แสดงบนซองจดหมาย หนังสือทวงหนี้ หรือสื่ออื่น ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงหนี้
หากโดนทวงหนี้แบบผิดกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ สามารถร้องเรียนได้ที่ไหน ?
ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลการร้องเรียนเมื่อถูกทวงหนี้ผิดกฎหมายว่า จากข้อมูลใน พ.ร.บ. ทวงหนี้ พ.ศ. 2558 ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ หากเจ้าหนี้ทวงหนี้โดยให้ข้อมูลเท็จ (มาตรา 12) หรือผู้ทวงหนี้กระทำการในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) การกระทำดังกล่าวถือว่ามีความผิด และประชาชนซึ่งอยู่ในฐานะของผู้เป็นหนี้สามารถร้องเรียนและดำเนินคดีได้ที่ “คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้” (ระดับประเทศและระดับจังหวัด) หรือ “ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ” เพื่อแจ้งเรื่องร้องเรียนนั่นเอง
โทษที่จะได้รับเมื่อทวงหนี้แบบผิดกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้
สำหรับผู้ที่ต้องการทราบว่าเมื่อถูกทวงหนี้แบบผิดกฎหมายและได้ทำการร้องเรียนไป ทางคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้จะมีลักษณะการดำเนินการหรือมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง กล่าวคือหลังจากที่ได้ทำการร้องเรียนไปเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้จะสั่งให้หยุดการกระทำของเจ้าหนี้หรือผู้ทวงหนี้โดยทันที หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทวงหนี้แบบผิดกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ใด ?
ในสถานการณ์ปกติแล้วหากเราทำการขอสินเชื่อหรือกู้เงินกับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐฯ (กู้ในระบบ) ก็มักจะไม่เกิดเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับการทวงหนี้ที่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้แต่อย่างใด แต่เหตุการณ์ที่จะทำให้เราต้องเผชิญหน้ากับความลำบากในการทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรมและเป็นอันตรายก็คือการตัดสินใจกู้นอกระบบหรือโดนล่อลวงให้ทำการกู้นอกระบบ ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เช่นนี้ก็สามารถแจ้งความและขอคำปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ อย่ายอมให้เรื่องราวบานปลาย จนตนเองและคนรอบข้างเดือดร้อนหรือโดนทำร้าย ให้ขอความช่วยเหลือโดยเร็ว
ข้อมูลเหล่านี้ก็คือข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ซึ่งกำลังอยู่ในสถานะเป็นหนี้ควรทราบกันเอาไว้ เพื่อที่จะได้ปกป้องดูแลสิทธิของตนเองได้ และสำหรับใครที่ไม่อยากเป็นหนี้โดยการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่าง ๆ หรือมีความกังวลว่าอาจจะตกหลุมพรางโดนล่อลวงให้กู้นอกระบบโดยไม่รู้ตัวก็อาจเลือกการเบิกเงินเดือนตัวเองล่วงหน้า กับ FINN มาใช้จ่าย ไม่ต้องไปเป็นหนี้สถาบันทางการเงินไหน ๆ และไม่ต้องกลัวดอกเบี้ยเพราะบริการเบิกเงินเดือนล่วงหน้ากับ FINN คิดดอกเบี้ย 0% https://go.finn-app.com/finnis0424 ทักสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย